EN
/ TH

ด่านต้อนรับผู้ใช้บริการทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์โฉมใหม่

งานสถาปัตยกรรมด้านการคมนาคมในประเทศไทยถือเป็นอีกศิลปะและวิทยาการแห่ง การก่อสร้าง อันจะสะท้อนถึงคุณค่าของประโยชน์ใช้สอย ความมั่นคงแข็งแรง ความงดงามที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของแผ่นดิน และความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม

หากจะกล่าวถึงสถาปัตยกรรมที่ใกล้ชิดกับคนเมืองหลวง ที่ต้องเดินทางสัญจรโดยใช้บริการทางด่วน หรือทางด่วนพิเศษต่าง ๆ นั้น ทุกคนคงเคยสัมผัสกับงานสถาปัตยกรรมที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่าด่านเก็บ ค่าผ่านทาง

ด่านเก็บค่าผ่านทางบนทางด่วนเปรียบเหมือนประตูแห่งความรวดเร็วเพื่อ รองรับการคมนาคมของเมืองหลวงที่มีการจราจรคับคั่งที่ปรากฎในโครงการทางด่วน ต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วส่วนใหญ่มักเป็นรูปแบบตัวอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงสี่เหลี่ยมใช้วัสดุทั่วไป เพราะเป็นโครงสร้างที่สร้างได้เร็ว มั่นคงแข็งแรง และสะดวกต่อการใช้สอย

แต่ปัจจุบันหากใครเคยใช้บริการทางยกระดับอุตราภิมุข หรือที่เรียกกันติดหูว่า "ดอนเมืองโทลล์เวย์" (ทางยกระดับเชื่อมระหว่างดินแดง-รังสิต) ท่านคงจะเห็นด่านเก็บค่าผ่านทางโฉมใหม่ที่ด่านดอนเมือง (ขาเข้า) และด่านดินแดง (ขาออก) ซึ่งถือว่าเป็นประตูต้อนรับเข้าสู่ดอนเมืองโทลล์เวย์ที่ได้มีการปรับปรุงโฉม ใหม่ ที่สะท้อนแนวคิดและคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมแห่งการคมนาคมร่วมสมัยที่ได้มี การปรับปรุงและพัฒนาไปในทางออกแบบสถาปัตยกรรมมากกว่าการใช้งานเพียงอย่าง เดียว

คุณธานินทร์ พานิชชีวะ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง กล่าวว่า "ดอนเมืองโทลล์เวย์มี vision ที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ (Intelligent Organization) โดยถ่ายทอดผ่าน Mr. Tollway ที่แสดงถึงความพร้อมขององค์กร ในการเป็นบริษัทฯบริหารทางด่วนชั้นนำที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายถนนรอบนอกสู่ กรุงเทพชั้นใน มุ่งให้บริการเป็นเลิศด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับการเดินทาง ด้วยระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ และยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยเราจะเริ่มที่ด่านต้อนรับผู้ใช้บริการ และหลังจากนั้นก็จะพัฒนาในส่วนอื่น ๆ อย่างไม่หยุดยั้งและพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community)

การเป็นองค์กรอัจฉริยะของดอนเมืองโทลล์เวย์เริ่มต้นที่ด่านต้อนรับผู้ ใช้บริการ เพราะด่านเก็บค่าผ่านทางเป็นเสมือนประตูบ้านของดอนเมืองโทลล์เวย์ ที่คอยเปิดรับผู้ใช้ทาง เพื่อสร้างความประทับใจในการใช้บริการและรับรู้ถึงความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ในการเดินทาง และส่งเสริมสภาพแวดล้อมของด่านที่ตั้งอยู่กลางใจเมืองซึ่งมีฝุ่นควันและแดด ที่ร้อนจ้า ท้องหลังคาของด่านถูกออกแบบให้เป็นเส้นโค้งและมีหลุมวงกลมหลายขนาดในตำแหน่ง ที่แตกต่างกันไปเพื่อช่วยระบายควันของยานพาหนะขณะออกตัว และให้กระแสลมพัดผ่านเป็นการทำให้อากาศไหลเวียนได้รวดเร็วขึ้น เป็นการลดมลภาวะบริเวณจุดชำระค่าผ่านทาง นอกจากนั้นยังไฟแสงสว่างในเวลากลางคืนให้กับผู้ขับขี่ เจ้าหน้าที่และพื้นที่โดยรอบของแต่ละด่านมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

แผงข้างหลังคาทั้งสองข้างนั้นเป็นอลูมิเนียมที่ยึดกับกล่องไฟให้ความ สว่างที่เห็นได้ไกลจากทิศต่าง ๆ ของกรุงเทพในเวลากลางคืน แผ่นอลูมิเนียมสีทองหุ้มหลังคานั้นสามารถเห็นได้ชัดเจนทั้งในเวลากลางวันและ ส่องสว่างในเวลากลางคืน ในทางสัญลักษณ์ของเมืองนั้นได้เชื่อมโยงสีทองนี้กับสถาปัตยกรรมที่เกี่ยว ข้องกับการคมนาคมร่วมสมัยในกรุงเทพมหานคร เช่น ถนนราชดำเนินที่มียอดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นสีทอง และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มียอดเป็นสีทองเช่นเดียวกัน

ทั้งหมดนี้จึงถือเป็นสถาปัตยกรรมสาธารณะของงานคมนาคมที่สะท้อนคุณค่าความเป็นสถาปัตยกรรมโฉมใหม่ได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้ ดอนเมืองโทลล์เวย์ก็จะพัฒนางานให้บริการทางด่วนต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และพร้อมที่จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community)