EN
/ TH

มิติด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากร ธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และการปกป้องสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพที่ชีวิตที่ดีของคนในปัจจุบันและรุ่นต่อไป มุ่งมั่นให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า คำนึงถึงผลกระทบของมลพิษจากการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก

จึงได้มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับการดำเนินงานให้มีความรับผิดชอบ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในตลอดกระบวนการของการดำเนินธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ และส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกในเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานทุกคน เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อม ผ่านคณะทำงานโครงการ 3Rs (Reduce Reuse Recycle) สำนักงานสีเขียว ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมและเป็นช่องทางให้พนักงานร่วมกันแสดงพลังและจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในองค์กร

ปริมาณการปล่อยก๊าชเรือนกระจกองค์กร ปี 2565
รวม 3,462 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

เป้าหมาย ปี 2566

ลดลง > %

เทียบกับปี 2565

การใช้พลังงานไฟฟ้า

การใช้พลังงานไฟฟ้า ปี 2565

อาคารสำนักงาน

1,033,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง

อาคารด่าน

1,282,810 กิโลวัตต์-ชั่วโมง

บริเวณสายทาง

2,464,581 กิโลวัตต์-ชั่วโมง

เป้าหมาย ปี 2566

ลดลง > %

เทียบกับปี 2565

การจัดการของเสียตามหลัก 3Rs

ผลการคัดแยกขยะ ปี 2565

ปริมาณขยะในองค์กร 21 ตัน
นำมารีไซเคิล

23.58 %

ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 5.51 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้

612 ตัน

เป้าหมาย ปี 2566

รีไซเคิล > %

เทียบกับปี 2565

จัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มูลค่าการจัดซื้อ

3.2 ล้านบาท

คิดเป็น 20% ของปริมาณสั่งซื้อทั้งหมด

เป้าหมาย ปี 2566

มูลค่าผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม > 20%

เทียบกับปี 2565

การใช้น้ำ

ปริมาณการใช้น้ำ ปี 2565

15,234.00 ลูกบาศก์เมตร


เป้าหมาย ปี 2566

ลดลง > 10%

เทียบกับปี 2565

การใช้กระดาษ

ปริมาณกระดาษที่ใช้ปี 2565

9,652 กิโลกรัม


เป้าหมาย ปี 2566

ลดลง > 20%

เทียบกับปี 2565

เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกองค์กร

บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของประเทศไทยหลังจากเข้าร่วมประชุม COP26 โดยมีเป้าหมาย สำคัญให้ประเทศไทยเป็น Carbon Neutrality ในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 หลังจากนั้น ในการประชุม COP27 ประเทศไทยได้กำหนดนโนบายและแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใหม่ ดังนี้

กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เร็วขึ้นกว่าเดิม 5 ปี

จากปี 2030 เป็นปี 2025

ปรับเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน

เร็วขึ้นกว่าเดิม 15 ปี

ปรับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

เร็วขึ้นกว่าเดิม 35 ปี

จากปี 2065 เป็นปี 2050

กำหนดเป้าหมาย NDC

เป็นร้อยละ 40 ภายในปี 2030

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ร้อยละ 40 ภายในปี 2030

แผนที่นำทางเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

ขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกิจกรรมองค์กร

ปริมาณการปล่อยก๊าชเรือนกระจก GHG (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ) ในปี 2565

ขอบเขตที่ 1 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง

501 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขอบเขตที่ 2 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน

2,390 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขอบเขตที่ 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมด้านอื่นๆ

591 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

อื่นๆ

176 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขอบเขตที่ 1 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง

จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการ บำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น

ขอบเขตที่ 2 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน

ได้แก่ การซื้อพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ มาใช้ในองค์กร เป็นต้น

ขอบเขตที่ 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมด้านอื่นๆ

เช่น การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหาร จัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับโรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ ซึ่งประโยชน์ของการทำ CFO ภาคธุรกิจ สามารถประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กรและจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญเพื่อหาแนวทางลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร หรือทำการกิจกรรมชดเชยคาร์บอน ภาครัฐ สามารถใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนให้เกิดการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ

CERTIFICATE Number : TGO FY23-324

การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในการดำเนินงาน

การจัดการขยะและของเสีย

การจัดการขยะและของเสีย

นำของเสียไปใช้ประโยชน์ต่อได้ 3,366 กิโลกรัม (ระยะเวลา 8 เดือน)

เทียบเท่าการลดก๊าซเรือนกระจก

5,508 กิโลกรัมคาร์บอน

แผนการดําเนินการปี 2565

คัดแยกและกําจัดขยะตามที่กฎหมายกําหนดส่งเสริมการใช้ซ้ํา (Reuse) กําหนด ส่งเสริมการใช้ซ้ํา (Reuse)·และการรีไซเคิล (Recycle)

เป้าหมาย

ดําเนินการต่อเนื่องโดยเป้าหมายการคัดแยกขยะและ Recycle ไม่น้อยกว่าปี 2565 และต่อยอดการ Recycle ไปสู่ กิจกรรม CSR และการกําหนด เป้าหมายการลดการใช้กระดาษร้อยละ 20 ภายหลัง จากบริษัทฯ ใช้ระบบ E-Document

ผลการดําเนินการปี 2565

ดําเนินการคัดแยกขยะ และเก็บรวบรวมข้อมูลผ่าน Platform GEPP Sa-Ard (เก็บ สะอาด) สามารถคัดแยกขยะและ นําาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ 3,366 กิโลกรัม คิดเป็นสัดส่วน Recycle ร้อยละ 23.58% เทียบเท่าการลดก๊าซ เรือนกระจก 5,508 กิโลกรัมคาร์บอน

โครงการติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารสํานักงานและอาคารด่าน (Solar Rooftop)

บริษัทฯ ได้ศึกษาพบว่ามีพื้นที่ที่สามารถติดตั้ง Solar Rooftop ได้ประมาณ 380 KWp ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้า ได้ 484,900 KWh/Year และทําให้ประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้กว่าร้อยละ 25-30 ซึ่งบริษัทฯ มีแผนการลงทุน 2 ระยะ โดยระยะแรกติดตั้งที่อาคารสํานักงานและอาคารด่านดอนเมือง กําลังการผลิตประมาณ 200 KWp คาดว่าจะติดตั้ง แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566 และระยะที่ 2 ติดตั้งที่อาคารด่านเก็บเงินค่าผ่านทางและอาคารด่านที่เหลือทั้ง 8 ด่าน อีก 180 KWp ภายในปี 2566 คิดเป็นปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก 225 TonCO2e/Year ซึ่งโครงการนี้ จะมีการงอ รับรอง T-VER คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) พัฒนา ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ

แผนการดําเนินการปี 2565

ศึกษาออกแบบประเมินความเหมาะสม ติดตั้ง Solar Rooftop ณ อาคารสานักงาน และ อาคารด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง

เป้าหมาย

ติดตั้ง Solar Rooftop ได้ประมาณ 380 KWp ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 484,900 KWh/Year และทําให้ประหยัดการใช้ พลังงานไฟฟ้าได้กว่าร้อยละ 25-30 คิดเป็นปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก 225 TonCO2e/Year

ผลการดําเนินการปี 2565

ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่าง ติดตั้งระยะที่ 1 ติดตั้งที่อาคารสํานักงาน และอาคารด่านดอนเมือง กําลังการผลิต ประมาณ 200 KWp คาดว่าจะติดตั้งแล้ว เสร็จในเดือนกรกฎาคม 2566 ระยะที่ 2 ติดตั้งที่อาคารด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง และอาคารด่านที่เหลือทั้ง 8 ด่าน อีก 180 KWp ภายในปี 2566

การทดสอบติดตั้งพลังงาน Solar Cell ทดแทนการติดเครื่องยนต์

บริษัทฯ ปรับมาใช้พลังงานจาก Solar Cell ทดแทน การติดเครื่องยนต์ในรถยนต์ตรวจการ กรณีจอดรถติด เครื่องยนต์วันละ 4 ชม สิ้นเปลืองน้ํามัน 6 ลิตร รถใช้งานปีละ 300วัน (ราคาน้ํามันดีเซลลิตรละ 35 บาท ณ เดือนมิถุนายน 2565) ลดปริมาณการใช้น้ํามัน ปีละ 1,800 ลิตร หรือ ลดค่าใช้จ่าย ปีละ 63,000 บาท ลดก๊าซ CO2 ได้ลิตรละ 2.745 Kg. หรือ ประมาณ 5,000 Kg.CO2/ปี ผลตอบแทน ที่ได้รับ คือ บริษัทฯ ลดค่าใช้จ่ายปีละ 63,000 บาท (คืนทุนภายใน 1.3 ปี) Carbon Footprint ลดลงปีละ 5 ต้น

คาร์บอนเครดิต : สามารถจ่ายได้ ชดเชยการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกของบริษัทได้ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

แผนการดําเนินการปี 2565

บริษัทฯ ตึกษาทดลองทดสอบการปรับมาใช้พลังงานจาก Solar Cell ทดแทนการติดเครื่องยนต์ใน รถยนต์ตรวจการ

เป้าหมาย
  • ลดการใช้นํ้ามันได้ปีละ 1,800 ลิตร หรือ ลดค่า ใช้จ่าย ปีละ 63,000 บาท
  • ลดก๊าซ CO2 ประมาณ 5,000 Kg.CO2/ปี
ผลการดําเนินการปี 2565

ทดสอบระยะเวลา 3 เดือน ประหยัดน้ํามัน 76,92 ลิตร เฉลี่ย เดือนละ 25 ลิตร คิดเป็นประมาณ 800 บาทต่อคัน ต่อเดือน
*หมายเหตุ การประหยัดขึ้นอยู่กับระยะ เวลาการดับเครื่องยนต์และใช้พลังงานแสงอาทิตย์

อุปกรณ์แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโทรศัพท์ฉุกเฉินบนทาง

ได้ติดตั้งโทรศัพท์ฉุกเฉินพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อทดแทนอุปกรณ์เดิมที่ใช้งานมานานมากกว่า 25 ปี ดำเนินการเปลี่ยนโทรศัพท์ฉุกเฉินบนทางเป็นระบบ GSM และใช้พลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 99 ชุด

การใช้และให้บริการรถยต์ไฟฟ้า (EV)

บริษัท ได้ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ ชาร์จเร็ว (DC Fast Charge) ขนาด 50KW ซึ่งสามารถชาร์จให้เต็มความจุได้ ภายใน 1 ชั่วโมง และ มีนโยบายเปลี่ยนรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า สำหรับใช้ในกิจการของบริษัทฯ

การจัดการมลพิษและของเสีย

บริษัทฯ มีการติดตามเฝ้าระวังและตรวจวัดค่ามลพิษจากการดำเนินงาน โดยหน่วยงานตรวจวัดที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีผลการตรวจวัดดังนี้

คุณภาพมลพิษทางอากาศที่ ตรวจวัดโดย 3rd Party อยู่ในค่ามาตรฐาน

100%

ข้อร้องเรียนด้านมลพิษ

0 เรื่อง

2565

ทดลองทดสอบติดตั้งพลังงาน Solar Cell ทดแทนการติดเครื่องยนต์

2565

ศึกษาวิจัยและทดลองการขึ้นรูปฝุ่นจากรถกวาดดูดฝุ่นผสมกับขยะพลาสติก เป็นวันสดุตกแต่งและปูทางเดิน ร่วมกับ สถาบันพลาสติก บริษัท ซีโร่ เวสท์ โยโล จํากัด และบริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด

บริษัทฯ ตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป และเก็บตัวอย่างอากาศด้วย High Volume Air เพื่อวิเคราะห์ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง ที่หน้าตู้เก็บค่าผ่านทางของด่านเก็บเงิน

บริษัทฯ ดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงทั่วไปเฉลี่ย 24 ชั่่วโมง และตรวจวัดปริมาณเสียงสะสมที่ตัวผู้ปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาการทำงาน ที่เกิดจากกิจกรรมของบริษัทฯ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานและชุมชนใกล้เคียง

บริษัทฯ มีการจัดการของเสียด้วยการคัดแยกและกำจัดขยะตามที่กฎหมายกำหนด ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) เช่น การนำใบเสร็จค่าผ่านทาง กระดาษที่ไม่ใช้แล้วมารีไซเคิลผลิตเป็นสมุด Green Way นำไปบริจาคให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนทั่วประเทศ อีกทั้ง บริษัทฯ ได้ร่วมดำเนินการกับ Start up ด้านการจัดการขยะ GEPP Sa-Ard (เก็บ สะอาด) สามารถคัดแยกขยะและนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ 3,366 กิโลกรัม คิดเป็นสัดส่วน Recycle ร้อยละ 23.58% เทียบเท่าการลดก๊าชเรือนกระจก 5,508 KgCO2e (ระยะเวลา 8 เดือน) รวมถึงการดำเนินการด้านการยกระดับการจัดการขยะอย่างยั่งยืน เพื่อเป้าหมายการลดขยะนำไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)

มีการติดตามเฝ้าระวังค่าน้ำทิ้งให้สอดคล้องตามค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดปีละ 1 ครั้ง โดยปี 2565 ได้ดำเนินการตรวจวัดค่าน้ำทิ้ง ณ อาคารสำนักงานใหญ่ และอาคารด่านดินแดง เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งจากการใช้น้ำของผู้ปฏิบัติงานและจากกิจกรรมอื่นในอาคารก่อนปล่อยสู่สาธารณะ ซึ่งผลการตรวจวัดคุุณภาพน้ำทิ้งทั้ง 2 จุด มีค่าสอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด

การละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อละเมิดกฎหมาย (กรณี)

2564

0

2565

0


ค่าปรับ (บาท)

2564

0

2565

0